เครือข่ายคอมพิวเตอร์
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ในสมัยแรกมีจุดประสงค์ เพื่อจะให้คอมพิวเตอร์ทำงานบางอย่างแทนมนุษย์ เช่น การคำนวณเลข เพราะคอมพิวเตอร์สามารถคำนวณได้เร็วกว่า อีกทั้งยังมีความแม่นยำและมีความผิดพลาดน้อยกว่ามนุษย์ การทำงานนั้นถ้าจะให้มีประสิทธิภาพสูงจะต้องทำเป็นหมู่คณะ หรือทีมเวิร์ค (Teamwork) คอมพิวเตอร์ก็เช่นกันหากทำการเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย ก็ย่อมมีประสิทธิภาพมากกว่าการทำงานแบบเดี่ยว ๆ การทำงานเป็นกลุ่มของคอมพิวเตอร์นี้จะเรียกว่า “เครือข่าย” (Network)
ความหมายของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หรือจะเรียกสั้น ๆ ว่า ระบบเครือข่าย(Network) ประกอบไปด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องที่สามารถติดต่อกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ การติดต่อจะผ่านทางช่องการสื่อสารต่าง ๆ เช่น สายโทรศัพท์ สายไฟฟ้า หรือผ่านทางสื่อแบบอื่น ๆ ได้แก่ โมเด็ม (Modem) ไมโครเวฟ (Microwave) สัญญาณอินฟราเรด (Infrared) เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปจะหมายถึง การที่เรานำเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2 เครื่องมาเชื่อมต่อกัน วัตถุประสงค์ที่ต้องต่อกันนี้ มักเกิดจากความต้องการที่จะใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน เช่น ใช้เนื้อที่เก็บข้อมูลในดิสก์ร่วมกัน ใช้งานเครื่องพิมพ์เลเซอร์ที่มีอยู่เครื่องเดียวร่วมกัน ต้องการส่งข้อมูลให้กับบุคคลอื่นในระบบไปใช้งาน หรือต้องการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน เป็นต้น
ฉะนั้น ระบบเครือข่าย Network คือ ระบบที่นำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC หรือ Personal Computer) แต่ละเครื่องมาต่อเชื่อมกันด้วยกลวิธีทางระบบคอมพิวเตอร์นั่นเอง
ติดตั้งเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ติดตั้งเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เราก็ได้ทราบไปแล้วว่าการจัดตั้งเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในหรือระหว่างองค์กรนั้นมีข้อดีอำนวยประโยชน์กับองค์กรอย่างไรบ้าง แต่ก่อนที่เราจะลงทุนจัดซื้ออุปกรณ์ติดตั้งระบบเครือข่าย เราจำเป็นต้องศึกษาถึงรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ เช่น การเลือกรูปแบบของเครือข่ายที่เหมาะสม การเลือกใช้อุปกรณ์ คาดการณ์การใช้งานในปัจจุบันและในอนาคตเป็นต้น
1. เลือกรูปแบบของเครือข่าย
เราต้องทำการศึกษาวางแผนก่อนว่าเราจะเลือกใช้รูปแบบเครือข่ายแบบใดจึงจะเหมาะสมที่สุดกับองค์กร เช่น เลือกใช้เครือข่ายแบบบัสสำหรับวงเครือข่าย LAN ภายในห้องหรือแผนกเดียวกัน เป็นต้น โดยที่เราต้องคำนึงถึงสถานที่ ความสะดวกในการร่วมใช้ทรัพยากรและข้อมูล ระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและการขยายขนาดของเครือข่ายประกอบด้วย
2. ต้องรองรับการทำงานทั้งหมดขององค์กรได้
ไม่ว่าเราจะเลือกใช้รูปแบบเครือข่ายแบบใดหรือผสมผสานเครือข่ายหลายรูปแบบให้กับองค์กร สิ่งสำคัญคือ เครือข่ายที่จัดตั้งขึ้นนี้ต้องสามารถตอบสนองการทำงานทั้งหมดขององค์กรได้อย่างครบวงจร เพราะไม่เช่นนั้นแล้วระบบเครือข่ายที่จัดตั้งขึ้นใหม่ก็จะไม่ช่วยให้เกิดสะดวกคล่องตัวและประหยัดค่าใช้จ่ายอย่างแท้จริง
3. ใช้งานได้ง่าย
ไม่ว่าระบบเครือข่ายที่จัดตั้งจะมีเทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนเพียงใดก็ตาม นั้นเป็นหน้าที่ของผู้ดูแลระบบ แต่สำหรับผู้ใช้งานแล้วเมื่อต้องการจะสื่อสารข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายต้องทำได้ง่าย (ตามสิทธิของแต่ละคน) โดยมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ซึ่งเป็นเทคนิคหนึ่งที่จะให้บุคลากรยอมรับระบบงานใหม่ ดังนั้นโปรแกรมประยุกต์ที่ผู้ใช้ใช้ติดต่อสั่งงานกับระบบเครือข่ายจะต้องออกแบบมาให้สามารถทำงานได้สะดวกและง่ายต่อการใช้งาน
4. ข้อมูลปลอดภัย
การจัดระบบความปลอดภัยของข้อมูล เช่น การกำหนดสิทธิและขอบเขตในการเข้าถึงฐานข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคนนั้นเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง รวมถึงการป้องกันระบบจากผู้ที่ไม่หวังดีที่จะคิดทำลายหรือล้วงความลับจากข้อมูลขององค์กร ทั้งนี้รวมไปถึงระบบสำรองข้อมูลในกรณีที่ฐานข้อมูลหลักเสียหาย ใช้งานไม้ได้ เราสามารถใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลสำรองทำงานต่อไปได้
5. การจัดการบริหารระบบเครือข่าย
การจะให้เครือข่ายทั้งระบบทำงานได้อย่างสมบูรณ์ราบรื่นตลอดเวลานั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เราจำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์คอยบริหารจัดการการใช้เครือข่าย และดูแลแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์อยู่ตลอดเวลา
6. ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย
การจัดตั้งระบบเครือข่ายแน่นอนว่าต้องมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนระยะแรกสูง งบประมาณที่ใช้จึงต้องเหมาะสมกับฐานะขององค์กรและต้องคุ้มค่า นั่นคือ ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมขององค์กรสูงขึ้นอย่างชัดเจน สามารถลดปริมาณงานที่ซับซ้อนได้ เพิ่มความสะดวกและประหยัดเวลาทำงาน ที่สำคัญคือต้องช่วยเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของงาน
นอกจากนี้ยังมีข้อพิจารณาปลีกย่อยอื่นๆ เช่น ความสามารถในการเชื่อมโยงกับเครือข่ายและองค์กรอื่นๆ ความยืดหยุ่นในการขยายเครือข่ายหรืออัพเกรดเพิ่มประสิทธิภาพของเครือข่าย การบำรุงรักษาเครือข่าย เป็นต้น
การติดตั้งเครือข่าย หัวสาย UTP
การทำสาย LAN เพื่อใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย |
วันนี้ก็ได้มีโอกาสได้เขียนในส่วนที่น่าจะเกี่ยวกับชื่อของเว็บไซต์ มากที่สุดในตอนนี้ ก็คือเรื่องเกี่ยวกับการเข้าสายสัญญาณในระบบเครือข่ายนั้นเอง (ปรารถนาสุดๆเลย)เพราะว่าหลายๆ คนที่ผมได้เคยรู้จักมานั้นมองเรื่องเกี่ยวกับการทำระบบหรือการติดตั้งเครือข่ายเป็นเรื่องที่ยากมากอาจจะว่ากันว่าเป็นเรื่องของช่างเฉพาะทางเพียงอย่าง เดียวเลยก็ว่าได้ แต่สำหรับความคิดเห็นของผมแล้วถ้าหากว่าเรามีอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะเป็นจะต้องใช้พร้อมแล้วก็ไม่น่าที่จะมีปัญหาในการทำสายสัญญาณ เพื่อใช้เองในบ้านหรือในสำนักงานขนาดเล็กก็ได้นะวิธีการก็ไม่มีอะไรมากอย่างแรกเลยก็จัดเตรียมเรื่องของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะต้องใช้ให้ครบถ้วนก่อนจะได้ไม่ต้องวิ่งหาตอนติดตั้ง โดยอุปกรณ์โดยทั่วไปก็มี สายสัญญาณหรือ UTP Cable หรือที่บ้านเราเรียกกันว่าสาย LAN แล้วก็หัว RJ-45 (Male), Modular Plug boots หรือตัวครอบสาย หากว่ามี Wry Marker แล้วก็จะมีเหมือนกันเพราะว่าจะช่วยในการทำให้เราจำสายสัญาณได้ว่าปลายด้านไหนเป็นด้านไหน ซึ่งโดยส่วนมากแล้วก็จะเป็นหมายเลข ไว้ใส่ในส่วนปลายทั้งสองด้านเพื่อให้ง่ายในการตรวจสอบระบบสายสัญญาณ คีมแค้มสายสัญญาณ หรือ Crimping Tool, มีดปอกสาย หรือ Cutter |
เอาละมาว่ากันเลยดีกว่าก่อนอื่นก็หยิบมีดหรือ Cutter อันเล็ก ๆ มาอันหนึ่งแล้วก็เล็งไปที่นิ้วจากนั้นก็ตัดนิ้วทิ้งไปซะ แล้วค่อยเอาหัว RJ มาต่อกับนิ้วแทน เท่านี้คุณก็สามารถเชื่อมต่อตัวคุณเองเข้าสู่ระบบเครือข่ายด้วยความไวสูงสุดถึง 100 มิลลิลิตรต่อนาที บางทีอาจจะเป็น Full Duplex Mode อีกต่างหาก ล้อเล่น ๆ เอาละนะใช้มีดปอกสายสัญญาณที่เป็นฉนวนหุ้มด้านนอกออกให้เหลือแต่ สายบิดเกลียวที่อยู่ด้านใน 8 เส้นแล้วก็จะเห็นด้ายสีขาว ๆ อยู่ให้ตัดทิ้งได้ โดยการปอกสายสัญญาณนั้นให้ปอกออกไว้ยาว ๆ หน่อยก็ได้ประมาณสัก 1 เซ็นครึ่งก็น่าจะได้นะตามตัวอย่างดังรูปข้างล่างนี้ |
จากนั้นก็ให้ใส่ Modular Plug boots เข้ากับสาย UTP ด้านที่กำลังจะต่อกับหัว RJ-45 ไว้ก่อนเลยดังรูปข้างล่างนี้ |
รูปแสดงคีมหรือ Crimping Tool ที่จะใช้ในการแค้มหัว อันนี้เป็นของยี่ห้อ Amp ราคาในตลาดก็คงประมาณ 5,000-6,000 บาทมั้งแต่ถ้าไม่ได้ใช้เยอะก็แนะนำให้เดินซื้อแถวพันทิพย์ หรือ ศูนย์คอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ทุกมุมในปัจจุบันนี้ ถ้าเอาแบบพอใช้ได้ราคาก็ประมาณ 400-800 บาท คุณภาพก็พอใช้ได้นะ ผมก็เคยซื้อมาใช้หลายอันแล้ว แต่ของ Amp นี้ค่อนข้างน่าใช้และชัวร์กว่าเยอะในการเข้าสาย แต่ราคานี่สิผมว่ามันไม่ค่อยจะน่าสนเท่าไหร่ ถ้าเราไม่มีอาชีพในการทำงานด้านนี้เฉพาะหรือ ต้องมีการเดินระบบสายสัญญาณบ่อย ๆ |
รูปของคีมหรือ Crimping Tool ด้านหน้าที่จะใช้แค้มสาย |
หลังจากที่ปอกสายเสร็จแล้วก็ให้ทำการแยกสายทั้ง 4 คู่ที่บิดกันอยู่ออกเป็นคู่ ๆ ก่อนโดยที่ให้แยกคู่ต่าง ๆ ตามลำดับต่อไปนี้ ส้ม-ขาวส้ม ---> เขียว-ขาวเขียว ---> น้ำเงิน-ขาวน้ำเงิน ---> น้ำตาล-ขาวน้ำตาล เพื่อแบ่งสายออกเป็นหมวดหมู่ใหญ่ ๆ ก่อน จากนั้นจึงค่อยมาทำการแยกแต่ละคู่ออกมาเป็นเส้น โดยให้ไล่สีดังนี้ ขาวส้ม ---> ส้ม ---> ขาวเขียว ---> น้ำเงิน ---> ขาวน้ำเงิน ---> เขียว ---> ขาวน้ำตาล ---> น้ำตาล |
ซึ่งสีที่ไล่นี้เป็นสีที่ใช้เป็นมาตรฐานในการเชื่อมต่อ ซึ่งจริง ๆ แล้วการเข้าสายมีมาตรฐานการไล่สีอยู่หลัก ๆ ก็ 2 แบบแต่ในที่นี้ผมเอาแบบนี้แล้วกันเพราะว่าส่วนมากแล้วเขาจะใช้วิธีการไล่สีแบบนี้ หลังจากจัดเรียงสีต่าง ๆ ได้แล้วก็ให้จัดสายให้เป็นระเบียบ ให้พยายามจัดให้สายแต่ละเส้นชิด ๆ กัน ดังรูป |
หลังจากนั้นให้ใช้คีมตัดสายสัญญาณที่เรียงกันอยู่นี้ให้มีระบบปลายสายที่เท่ากันทุกเส้น โดยให้เหลือปลายสายยาวออกมาพอสมควร จากนั้นก็ให้เสียบเข้าไปในหัว RJ-45 ที่เตรียมมา โดยให้หันหัว RJ-45 ดังรูปจากนั้นค่อย ๆ ยัดสายที่ตัดแล้วเข้าไป โดยพยายามยัดปลายของสาย UTP เข้าไปให้สุดจนชนปลายของช่องว่าในหัว RJ-45 เลย |
จุดสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการเชื่อมต่อสายสัญญาณในช่วงนี้ก็คือต้องยัดฉนวนหุ้มที่หุ้มสาย UTP นี้เข้าไปในหัว RJ-45 ด้วย โดยพยายามยัดเข้าไปให้ได้ลึกที่สุดแล้วกัน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการหักงอของสายง่าย โดยให้ยัดเข้าไปให้ได้ดังรูปข้างล่างนี้ |
แล้วก็นำเข้าไปใส่ในช่องที่เป็นช่องแค้มหัวของ RJ-45 ในคีมที่จะใช้แค้มหัว หรือ Crimping Tool ให้ลงล็อกของคีมพอดี จากนั้นก็ให้ทำการกดย้ำสายให้แน่น เพื่อให้ Pin ทีอยู่ในหัว RJ-45 นั้นสัมผัสกับสายทองแดงที่ใส่เข้าไป บรรจงนิดหนึ่งนะครับในช่วงนี้ เพราะว่าเป็นช่วงหัวเลียวหัวต่อของชีวิตสายสัญญาณของคุณเลยแหละ เท่าที่ประสบการในการเข้าสายสัญญาณของผม ถ้าเป็นไอ้เจ้า Amp นี่ก็ไม่ต้องออกแรงมากเท่าไหร่ก็ OK ได้เลย แต่ถ้าเป็นแบบของทั่ว ๆ ไปก็คงต้องออกแรงกดกันนิดหนึ่งแล้วกัน |
อ้า...ท้ายที่สุดก็จะได้ปลายสัญญาณของระบบที่คุณต้องการดังกล่าวดังรูป ที่นี้ก็ไปทำอย่างที่ว่ามานี้อีกครั้งหนึ่งที่ปลายสายอีกด้านหนึ่ง แต่อย่าหลงเข้าใจผิดว่านี่เป็นสาย Cross นะ เพราะว่าสาย Cross นั้นคุณต้องทำการสลับสายสัญญาณที่เข้านี้ ลองไปดูหัวข้อ Tip of the Day นะผมแนะนำการเข้าสาย Cross ไว้ที่นั่นแล้ว เพราะว่าการเข้าสายทั้งสองแบบนี้การไล่สีของสายไม่เหมือนกัน แตกต่างกันนิดหน่อย ส่วนสาย Cross เราสามารถนำเอาไปเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องให้เป็นระบบเครือข่ายได้โดยที่ไม่ต้องใช้ HUB ได้เลย แต่ได้แค่ 2 เครื่องเท่านั้น ส่วนสายแบบที่ต่อตรง ๆ นั้นจะใช้เชื่อมต่อจากเครื่องคอมพิวเตอร์มายัง HUB |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น